กิจกรรม & ข่าว



ข่าวสาร

ยังไม่มีข่าวใหม่

ยังไม่มีข่าวใหม่

ยังไม่มีข่าวใหม่

ยังไม่มีข่าวใหม่





สมาชิกหน่วยวิจัย

ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์
หัวหน้าหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9452
Email : narit.d@psu.ac.th
CV :
123123 123
หัวหน้าหน่วยวิจัย
โทร. 213
Email : asd@gmail.com
CV :
รศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9455
Email : bussabong.c@psu.ac.th
CV :
ผศ. ดร.มนตรี เพชรนาจักร
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9460
Email : montree.ph@psu.ac.th
CV :
ผศ.อภิชาติ จันทร์แดง
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9459
Email : apichart.cha@psu.ac.th

อาจารย์ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9466
Email : thammasat.s@psu.ac.th
CV :
อาจารย์เพ็ญนภา พัทรชนม์
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9461
Email : pennapa.p@psu.ac.th
CV :
ดร.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9462
Email : Jiraporn.r@psu.ac.th
CV :
ดร.นิวดี สาหีม
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9463
Email : niwadee.s@psu.ac.th
CV :
คุณอุสมาน หวังสนิ
สมาชิกหน่วยวิจัย
โทร. 0 7428 9463
Email : usman.w@psu.ac.th
CV :

ความเป็นมา

      การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลากว่าค่อนทศวรรษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ ความไม่เชื่อใจของคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องในฝ่ายต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีบทบาทหลักในด้านการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษานั้น มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความขัดแย้งและสันติศึกษาขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวที่เกิดขึ้นยืดเยื้อและยาวนาน สถาบันสันติศึกษาร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้จัดตั้งหน่วยวิจัย: สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาในภาคใต้ ขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ถึง วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 ขึ้น เพื่อสนับสนุนงานวิชาการและงานวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษาของสถาบันสันติศึกษาและผู้สนใจอื่น ๆ ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ สันติศึกษาและความขัดแย้ง พร้อมทั้งให้หน่วยวิจัยเป็นแหล่งเรียนรู้ในการทำวิจัย จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคมใน หัวข้อดังกล่าว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่อไป

      แม้หน่วยวิจัยสันติศึกษาเพื่อพัฒนาในภาคใต้ได้สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินการตามสัญญาข้อตกลงในการสนับสนุนหน่วยวิจัยแล้วก็ตาม ความขัดแย้งในสังคมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ เช่น ปัญหาความขัดแย้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ หรือปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น

      สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นองค์กรทางวิชาการองค์กรหนึ่งที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคม มีการพัฒนาองค์ความรู้และทรัพยากรมนุษย์ด้านสันติวิธีเพื่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งและประสานความเข้าใจในสังคมให้เกิดสันติสุขในพื้นที่ภาคใต้ จึงต้องพัฒนางานวิจัยและกิจกรรมพัฒนาโครงการวิชาการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสถาบันสันติศึกษายังมีแผนจัดตั้งวิทยาลัยสหวิทยาการเพื่อสันติศึกษาเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นเพื่อให้สถาบันสันติศึกษาสามารถเตรียมความพร้อมในการรองรับผลงานวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นจากแผนการจัดตั้งวิทยาลัยฯ ในอนาคต รวมไปถึงพัฒนาองค์ความรู้ทั้งทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิชุมชน ประวัติศาสตร์ ศาสนา สันติศึกษาและความขัดแย้ง ให้เท่าทันต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่จะมีความซับซ้อนและหลากหลายยิ่งขึ้นในอนาคต และเพื่อไม่ให้การพัฒนาผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของคณาจารย์และนักวิจัย ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของหน่วยวิจัยสันติศึกษาเพื่อการพัฒนาในภาคใต้ ต้องสูญเปล่าหรือต้องหยุดชะงักลง จึงจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการจัดตั้งหน่วยวิจัยสันติศึกษาเพื่อการพัฒนาภาคใต้ ขึ้นใหม่เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบกิจกรรมและพัฒนาผลงานองค์ความรู้ที่สมาชิกประจำหน่วยวิจัยสันติศึกษาเพื่อการพัฒนาภาคใต้ ได้สรรสร้างขึ้น ให้มีความต่อเนื่องสืบไป





วัตถุประสงค์

ผลิตงานวิจัยด้านสาขาวิชาต่างๆ เช่น รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ สิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ความขัดแย้งและกระบวนการสร้างสันติภาพ

นำผลการศึกษาวิจัยไปสู่การบริการวิชาการเพื่อการศึกษาเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในชุมชน โดยให้ชุมชนพื้นที่ศึกษาวิจัยของหน่วยวิจัยฯ เป็นฐานการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้ที่สนใจ

เป็นหน่วยถ่ายทอดองค์ความรู้วิจัยให้แก่นักวิชาการ นักศึกษา และชุมชนที่สนใจ






เป้าหมายของหน่วยวิจัย

ด้านการเรียนการสอน

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บุคลากรและผู้สนใจ มีทักษะด้านการทำวิจัยเพิ่มขึ้นโดยวัดได้จากการกำหนดระเบียบวิธีวิจัยของผู้วิจัย
ลดปัญหาการสำเร็จการศึกษาล่าช้าของนักศึกษาอันเนื่องมาจากแหล่งที่ปรึกษาการทำวิจัย

ด้านการพัฒนาองค์กร (สถาบัน/หน่วยงาน)

บุคลากรมีการทำวิจัยเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และนำความรู้ไปพัฒนางานตามสายงานที่รับผิดชอบ
สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและงานวิชาการในองค์กรต่างๆ เพิ่มขึ้น สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายและการพัฒนาทางวิชาการร่วมกัน โดยมีเครือข่ายวิจัยร่วม ดังต่อไปนี้
    - สำนักวิจัยและพัฒนา
    - สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ CSCD
    - เครือข่ายบัณฑิตมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาคใต้ (SenSoH)
    - วิทยาลัยวันศุกร์
    - ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch)
    - สถาบันพระปกเกล้า
    - ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    - สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
    - สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    - โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP-Project)

ด้านการตอบสนองข้อมูลของบุคคล/องค์กรผู้สนใจ

เป็นผู้ประสานข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านสันติศึกษาและความขัดแย้ง ตลอดจนรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิชุมชนประวัติศาสตร์ และ ศาสนา ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ในภาคใต้อย่างน้อย 1 เรื่อง/ปี
เป็นแหล่งบริการข้อมูลงานวิชาการ ปรึกษางานวิจัย ฝึกอบรมเสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยให้แก่นักศึกษา บุคลากรในสถาบันและผู้สนใจทั่วไป






Road map

แผนที่นำทาง (Road map) ที่จะพัฒนาหน่วยวิจัยให้มีความเข้มแข็งต่อไป

วิสัยทัศน์

บูรณาการงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เพื่อตอบสนองการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการสันติวิธี โดยเน้น

วิจัยด้านความขัดแย้ง ความมั่นคง และกระบวนการสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
    - ความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้
    - กระบวนการสันติภาพ ความมั่นคง และสันติศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

วิจัยและแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาคประชาชนกับรัฐ
    - ปัญหาความขัดแย้งในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    - ปัญหาความขัดแย้งในประเด็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐ
    - ปัญหาสิทธิชุมชน

วิจัยและศึกษาด้านปรัชญา ความเชื่อ และศาสนา
    - แนวคิด ปรัชญาและความเชื่อ ในด้านศาสนา เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง
    - หลักจิตวิทยา
    - หลักจิตปัญญา

วิจัยและศึกษาด้านการพัฒนาสังคม และชุมชน
    - การสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน
    - การสนับสนุนให้ชุมชนจัดการตนเอง
    - การจัดทำยุทธศาสตร์และแผนชุมชน



แผนภาพแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงงานวิจัยของสมาชิกในหน่วยวิจัย






ผลการดำเนินงานของหน่วยวิจัย

ฐานข้อมูลงานวิจัย




เครือข่ายที่ทำงานร่วม